ภาษา C คืออะไร ?
ภาษา C (C Languages) ก็คือภาษาที่เราเอาไว้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ภาษาหนี่งนะ โดยเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ในปัจจุบัน โดยเมื่อเราเขียนภาษา C เสร็จ เราจะยังไม่สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ทันที แต่จะต้องนำภาษา C ไปแปลงเป็นภาษาเครื่องก่อน (Machine Languages)
โปรแกรมใช้เขียนภาษา C ?
ภาษา C ใช้ได้หลายแบบ โดยที่เราสามารถใช้เขียนได้หลายวัตถุประสงค์ เช่น เขียนเพื่อสร้างโปรแกรมใช้งานบน Windows (ผ่านทาง Visual Studio) , ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านหน้าต่าง DOS (Turbo C, Dev C) , เขียนเพื่อใช้ติดต่อ Microcontroller (CCS C, HI-TECH C, MikroC,) เป็นต้น
เริ่มต้นภาษา C ด้วย Main() เสมอ !!
การเขียนภาษา C ต้องเริ่มต้นด้วย main() เพราะว่า ภายในฟังก์ชั่น main() คือส่วนของโปรแกรมหลักที่เราจะใช้เขียน
ต่อไปจะเข้าเรื่องการใช้งานภาษา C จริงๆล่ะนะ ...
การใช้งานตัวแปรในภาษา C ?
ทำไมเราต้องใช้งานตัวแปร ? -> เพราะในการเขียนโปรแกรมต้องมีตัวรองรับค่าตัวเลข, ตัวอักษร ต่างๆ
โดยชนิดตัวแปรในภาษา C มีดังนี้ ( สำหรับ Complier CCS C จะแตกต่างจากภาษา C ทั่วไปเพราะมีเรื่องของ บิต(bits) ข้อมูลมาเกี่ยวข้อง) ตามตารางด้านล่างนี้
- จะต้องขึ้นชื่อตัวแปรด้วยตัวอักษร a- z หรือ A-Z เท่านั้น ตัวพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กสลับกันได้ และใช้ ขีดล่าง ( Under score) ในการเว้นวรรค เท่านั้น เช่น Test, Value1 เป็นต้น ไม่สามารถขึ้นต้นด้วยตัวเลขได้ !!!
- ห้ามเว้นวรรค โดยการเว้นวรรคให้ใช้ ขีดล่าง ( Under score) ในการเว้นวรรคแทน เช่น Test_one, Value_11
- ห้ามตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกันเอง แต่ตัวเล็ก กับตัวใหญ่ จะคนล่ะตัวกัน เช่น test, Test <- แบบนี้ใช้ได้ เพราะคนละชื่อ
- ชื่อตัวแปรไม่ควรยาวเกินไป ควรใช้คำย่อเพื่อเข้าใจง่าย
- ไม่ควรซ้ำกับคำสงวนในภาษา C
อะไรคำสงวน ?
คำสงวนในภาษา C ก็คือ ชุดคำสั่งที่ได้ Fixed เอาไว้แล้วเพื่อเรียกใช้งาน จึงไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำได้ มีดังต่อไปนี้
เมื่อเรารู้ว่าควรประกาศตัวแปร และตั้งชื่อ เพื่อเก็บตัวเลข ต่อไปจะแสดงถึงการจัดการตัวเลข เช่น +, -, * (คูณ), /(หาร) เป็นต้น
การดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ส่วนหาร(เอาเฉพราะเศษ) ก็คือตั้ง 17/3 (หารยาวนะ) จะได้เศษ 2 พอดี นั่นคือการหารเอาเศษ
-a = -3 , --a หมายความว่า ลดค่า a ลงไป 1 ค่า หรือจะเขียน a-- ก็ได้ จะได้ค่าเท่ากับ 2 นั่นเอง
++a หมายความว่า เพิ่มค่า a ขึ้นไป 1 ค่า หรือจะเขียน a++ ก็ได้ จะได้ค่าเท่ากับ 4
ต่อไปเป็นการเปรียบเทียบทาง Logic ซึ่งใช้บ่อยๆในการเขียนใช้งานเพื่อใช้ตัดสินใจ ( if, else ) ซึ่งจะพูดในตอนต่อไป
การดำเนินการตัดสินใจทางคณิตศาสตร์
เหมือนเดิมเลย a=3, b=17 , && แทนคำว่า และ(And) || แทนคำว่า หรือ(Or) ง่ายๆเลยครับ
ต่อไป เป็นการกระทำ ระดับบิต(Bit) ก็คือในทาง Digital นั่นเอง ที่มีอยู่ด้วยกับ 2 ระดับ คือ 0 และ 1
เหมือนอีกแหละ a=3, b=17 แต่อันนี้เป็นการกระทำระดับบิต ต้องแปลงเป็นเลขฐาน 2 ซะหน่อย
a = 00011
b = 10001
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
b&a = 00001 = 1
b|a = 10011 = 19
b^a = Ex-or เทียบทีละบิต เหมือนกัน 0 ต่างกัน 1 ก็จะได้ 10010 = 18 นั่นเอง
b<<a อันนี้ก็ใช้บ่อยนะ เลื่อนบิตไปทางซ้าย ก็คือ 10001 เลื่อนไป 3 ตำแหน่งทางซ้าย จะได้ 1000 = 8 นะไม่ใช่ 136 ในตารางผิด x
b>>3 10001 เลื่อนไป 3 ตำแหน่งทางขวา ก็จะได้ 00010 = 2 นั่นเอง
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ตอนที่ 2 จะกล่าวถึงฟังก์ชั่นที่ใช้เขียนในภาษา C เช่น if, if else, for, while, switch เป็นต้นนะครับ
ต้องการเรียน ขียนโปรเจกการเบิกจ่าย
ตอบลบ